วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553



ครั้งที่4
วันที่ 7/ก.ค./53

อาจารย์ให้ใช่ลิงค์ของแต่ละคน และอาจารย์ถามในเทอมที่ผ่านมาว่าได้ร่วมกิจกรรมอะไรของมหาวิทยาลัยบ้าง มีด้งนี้
  1. ปฐมนิเทศ 
  2. เข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม
  3. รับน้องมหาวิทยาลัย
  4. บายศรีในสาขา
  5. ไหว้คณะ
  6. ไหว้ครูมหาลัย
  7. ดาวเดือนคณะ
  8. กีฬาสีเทา- เหลือง
  9. ดาวเดือนมหาลัย
  10.  ลอยกระทง
    เข้าสู่เนื้อหา
           การแบ่งประเภทของสื่อ
การจัดระดับประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
(การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด)
          ตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งาน
แนวคิดของ  เอ็ดการ์  เดล   ( Edgar  Dale)
          กรวยประสบการณ์ 11 กลุ่ม
  • ประสบการณ์ตรง=> เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานการณ์จริงหรือดวยการกระทำของตนเอง เช่น การจับต้องและการมองเห็น เป็นต้น (เราต้องดูพัฒนาดารของเด็กแต่ละคน ว่าเด็กมีพัฒนาการในการเรียนรู้เพิ่มมากน้อยเพียงใด สิ่งเหล่านี้เกิดจากการเลี้ยงดู สมรรถภาพของเด็ก และครอบครัว) เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเราไม่สามารถเปรียบเทียบเด็กได้ ครูต้องเป็นผู้มอบความรู้ให้แก่เด็ก
  • ประสบการณ์รอง=> เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้ 
  • ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง => เป็นการแสดงบทบาทสมมุติหรือการแสดงละครเพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดด้วยุคสมัย เวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
  • การสาธิต=> เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ เช่น การเต้น การพับกระดาษ การปลูกผัก 
  • การศึกษานอกสถานที่=> เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการท่องเที่ยว การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หรือการสัมภาษณ์เหล่านี้ 
  • นิทรรศการ => เป็นการวัดแสดงสิ่งต่างๆ การจัดป่ายนิทรรศการเพื่อให้สาระประโยชน์และความรู้แก่ผู้ชม
  •  โทรทัศน์=> โดยใช้โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการสอน เพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช้ส่งได้ทั้งในระบบวงจรเปิดและวงจรปิด การสอนอาจเป็นการสอนสดหรือบันทึก VCD
  • ภาพยนต์=> เป็นการภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลาบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
  • การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง=>  เป็นได้ทั้งในรูปของแผ่นเเล็บหรือเทปบันทึก วิทยุเป็นสื่อเฉพาะเสียง
  • ทัศนสัญลักษณ์=> เช่นแผ่นที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นสัลักษณ์แทนความเป็นจริง
  • วจนสัญลักษณ์=> เป็นประสบกาณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุดได้แก่ ตัวหนังสือในภาพเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด
 บรูเนอร์ ( Jerume S.Bruner)
  •   กลุ่มการกระทำ ( Enactive ) 
  •   กลุ่มภาพ ( Lconic )
  •   กลุ่มนามธรรม ( Abstracs )
แนวการเลือกสื่อการสอบของโรมัสซอว์สกี้
  1. วิธีการสอน
  2. งานการเรียนรู้
  3. ลักษณะของผู้เรียน
  4. ข้อจำกัดในการปฎิบัติ
  5. ผู้สอนหรือครู
สรุปหลักการในการเรียนการสอน
  1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  2. เลือกสื่อการสอนตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
  3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
  4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
  5. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
  6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะที่น่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
  7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบำรุงรักษาได้สะดวก

ไม่มีความคิดเห็น: