วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

                                                    ไปดูงานโรงเรียนอนุบาลสามเสน
                                               (สำนักงานสลากกินแบ่งัฐบาลอุปถัมภ์)


                                        













ครั้งที่14
สอบปลายภาค

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่13 วันที่ 30 กันยายน 2553
>>วันนี้อาจารย์นัดให้เอากล่องลังมา และอาจารย์ก็ให้คิดว่ากระดาษที่เราเอามาสามารถใช้ทำเป็นสื่ออะไรให้เด็กได้บ้าง ก็มีความคิดที่หลากหลาย
>> เกณฑืในการตัดสินในการให้คะแนน
            1. ป้ายจะต้องสะท้อนความรู้ที่เราทำ
            2.ความสวยงาม
            3.ความปรารีต
            4.ความคิดสร้างสรรค์
            5.ความพิถีพิถัน
            6.ความสมส่วน

>> อาจาย์ให้ประเมินการสอนของอาจารย์โดยมีแบบประเมินมาให้ อาจารย์ให้เวลาในการทำ 10 นาที
>>อาจารย์ให้ทำงานคือให้ทำป้ายนิเทศเพื่อเป็นสื่อในการสอนเด็ก เราก็ต้องมีการวางแผนว่าเราจะสอนเด็กในหน่วยอะไร เราถึงจะลงมือทำได้โดยอาจารย์มีอุปกรณ์มาให้พร้อมดั้งนี้
1.กระดาษสื
2.กาว
3.กรรไกร
4.กระดาษลัง
5.มีดคัสเตอร์
6.ไม้เลียบลูกชิ้น
แต่ละคนก็ลงมือทำงานของตนเอง
>>อาจารย์ก็มีการชี้แจงแบบประเมินที่อาจารย์ให้แบบสอบถามไปว่าที่ประเมินอาจารย์ไปอย่างนั้นเป็นเพราะอะไร แล้วอาจารย์จะต้องปรับปรุงตัวอย่างไรจากเดิม
>>หลังจากนั้นอาจารย์ก้ให้ทำงานเหมือนเดิม

ผลงานที่อาจารย์มอบหมาย





ดิฉันทำเรื่องป่าไม้เมื่อสอนเด็กในหน่วป่าไม้จะได้ใช้บอร์ดแผ่นนี้ที่ผลิตขึ้นมาใช้ในการประกอบการสอนเด็กว่าป่าไม้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ป่าไม้มีประโนชน์ต่อเราอย่างไร

ครั้งที่12 วันที่ 23 กันยายน 2553
   >>  วันนี้อาจารย์สรุปเรื่องว่าสื่อเป็นอย่างไร ในการสร้างสื่อนั้นต้องมีทักษะ กระบวนการ ประสบการณ์ และสาระการเรียนรู้ ต้องใช้วิจารณญาณในการทำว่าสื่อที่ทำไปเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ หรือตรงกับหน่วยที่จะสอนหรือไม่
>> จากนั้นอาจารย์ก็เปิดดูบล็อกของเพื่อนๆ ว่ามีความคืบน่าเพียงใด มีอะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุงก็ให้ไปปรับปรุง เช่น คำว่าอาจารย์ติดธุระ สามารถเปลี่ยนเป็นคำอื่นได้หรือไม่ อาจารย์ก็ดูข้อบกพร่องของแต่ละคนแต่อาจารย์ก็ไม่ได้ดูทุกคนแค่ดูเป็นตัวอย่างว่าต้องปรับปรุงตรงไหนบ้าง เช่น
1.องค์ประกอบที่อาจารย์ให้มาครบหรือเปล่า
2.คำที่เขียนถูกต้องหรือเปล่า เหมาะสมหรือไม่
>> หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ส่งแป้งโดว์ของแต่ละกลุ่ม เมื่อส่งไปแล้วอาจารย์ก็ให้สาธิตให้ดูว่าวัสดุอุปกรณ์ที่เราเอามามีวิธีการเล่นกับแป้งโดว์อย่างไร
>> อาจารย์แจกคัดไทย ก-ฮ ให้คัดในห้องแล้วส่งและให้เขียนชื่อเหมือนที่เราคัดไทยมาส่ง อาจารย์ก็บอกเหตุผลว่าทำไมเราเป็นครูอนุบาลต้องฝึกคัดไทย ก็เพื่อให้เกิดความชำนาญในการเขียนเมื่อเราไปสอนเด็กเด็กจะได้นำไปเป็นตัวอย่างและจะได้อ่านออก
>> อาจารย์ให้ภาพการ์ตูนมา2 ภาพและให้ไปถ่ายเอกสารและเอาไปทำว่าเมื่อทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
>> อาจารย์ให้เอากระดาษลังมาในสัปดาห์หน้าคนละ 1 แผ่น
>> อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเพื่อทำงานอีก 1 ชิ้น อาจารย์ให้จัดบอร์ดเกี่ยวกับเด็ก ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็มีชื่อหัวข้อเรื่องที่จะจัดคือ สิ่งเล็กๆที่เรียกว่าสื่อ


แป้งโดว์ที่สำเร็จรูปแล้ว






วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

 ครั้งที่11 วันที่16 กันยายน 2553


วันนี้อาจารย์ให้ทำแป้งโดว์โดยที่ฉันไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อนแต่ก็มีเพื่อนไม่กี่คนที่รู้เรื่องนี้ เมื่อมาถึงห้องอาจารย์ก็ถามว่าแบ่งกลุ่มได้ยัง อ่านวิธีทำมาแล้วใช่ไหม มีกะทะกี่ใบฉันก็ ง งู เต็มหัวว่าอาจารย์พูดถึงอะไรอาจารย์จำผิดห้องหรือเปล่า และอาจารย์เอากระดาษลังมาให้ฉันช่วยตัดเอาฉันเหงื่อตกเลย หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้เริ่มลงมือทำแป้งโดว์ แต่การทำแป้งโดว์ใช่ว่าจะได้ทำง่ายๆจะลงมือทำอยู่แล้ว ก็แบ่งกลุ่มเป็น4 กลุ่มแต่ละกลุ่มละก็ไม่มีน้ำมันพืชเลยเพื่อนก็ต้องไปซื้ออีก เมื่อมีอุปกรณ์ในการทำพร้อมก็ลงมือทำโดยมีวิธีการทำดังนี้

อุปกรณ์ในการทำแป้งโดว์
1. แป้งสาลี
2.น้ำเปล่า
3.น้ำมันพืช
4.น้ำมันมะกอก
5.สารส้มป่น
6.กะทะ
7.ตะหลิว
8.ภาชนะ

                                                             วิธีการทำแป้งโดว์



ผสมแป้งให้เข้ากัน

ผสมสีกับแป้งให้เข้ากัน
นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน
นวดให้แป้งและสีเข้ากัน
                                 ใส่น้ำมันพืช

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ครั้งที่10  วันที่9 กันยายน 2553
     วันนี้อาจารย์นัดสอบ09.00นาที่ตรงห้ามสาย ฉันรีบมากฉันมาเป็นคนแรกเลยเดินมาคิดว่าคงจะมาสายสุด เข้ามาตกใจคิดว่าเข้าห้องผิดที่แท้ก็มาเป็นคนแรก
     วันนี้เหตุการณ์อะไรไม่รู้มากมายวุ่นไปหมดกว่าจะได้สอบเอาอาจารย์เหนื่อย
เพราะมีเรื่องงานวิชาอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอาจารยผืก็เลยต้องไปคุยกับอาจารย์ประจำวิชานั้นให้เข้าใจว่าเรื่องจริงๆแล้วเป็นอย่างไรเมื่อเคลยร์เรื่องนี้จบก็คิดว่าจะได้สอบก็ยังไม่จบมีเรื่องที่ 2 ตามมาอีกเรื่องนี้หนักกว่าเรื่องแรกซะอีก คือว่ามี่เพื่อนต้องไปทำธุระที่บ้านก็ถามอาจารย์ว่าใกล้จะเลิกยังอาจารย์ก็คงว่าจะรีบไปไหนทั้งๆที่ยังไม่หมดเวลาเรียนเลยแถมยังเพิ่งจะเข้าเรียนและอาจารย์ก็เรียกให้เพื่อนคนนั้นเข้ามานั่งในห้องและถามเหตุผลว่าทำไม่รีบกลับเมื่อเพื่อนบอกเหตุผลไม่อาจาย์ก็อนุญาติให้กลับแต่เพื่อนก็ปฎิเสธที่จะไม่กลับแล้วก็ได้แต่บอกว่าไม่ทันแล้วอาจารย์มันไม่ทันแล้วฑุดกันอยู่นานมากก็ทำให้อาจารย์มีความรู้สึกว่าอาจารยืเป็นสาเหตุที่ทำให้เพือนกลับบ้านไม่ทันอาจารย์ก็คงเครียดน่าดูน่าสงสารอาจารย์จริงๆ สุดท้ายก็ได้สอบสักที
ครั้งที่9 วันที่2 กันยายน 2553

     วันนี้อาจารย์ให้เรียนรวมกันทั้งกลุ่มที่ 1และกลุ่มที่ 2 นักศึกษามารวมกันที่ใต้ตึกคณะและอาจารย์ให้เอางานมาส่งโดยแยกเป็นกลุ่มๆ  และเพื่อนๆรวมถึงตัวฉันงานก็ยังไม่เสร็จและอาจารย์ก็ให้ส่งต่างก็รีบทำของตนเองจนวุ่นวายไมหมดอาจารย์ก็บอกว่าได้แค่ไหนก็ส่งแค่นั้นที่เหลือก็เก็บทำต่อค่อยมาส่งวันหลัง ถ้าอาจารย์พูดอย่างนี้ตั้งแต่ตอนแรกนะก็หยุดทำแล้วหลังจากนั้นแต่ละกลุ่มก็ให้แบ่งเป็นโต๊ะๆเพื่อวางงานส่งอาจารย์ แล้วอาจารย์ให้ออกมายืนเรียงหน้ากระดานและอาจารย์ก็ชี้แจงต่างๆ เมื่อชี้แจงเสร็จอาจารย์ก็ให้หยิบงานของตนเองขึ้นบนห้องเรียนและอาจารย์ก็มีเกมมาให้เล่นกัน

                                                                   ภาพกิกรรมในวันนี้


                                                           เกมความสัมพันธ์สองแกน







                                                                     
                                                                      

     ร่วมกันเล่นเกม



















เกมจับคู่ที่มีความสัมพันธ์กัน

ซึ่งเกมที่อาจารย์เอามาให้เล่นนั้นสนุกมากๆ และเมื่อเล่นเกมเสร็จอาจารย์ก็มาเช็คงานอีกรอบและอาจารย์ก็ให้ไปคัดไทยมาส่งในสัปดาห์หน้า แต่ไม่น่าเชื่อเลยว่าวันนี้งานของเพื่อนฉันหายไปได้อย่างไรทั้งๆที่ว่างไว้บนโต๊ะใต้ตึกคณะในตอนแรก ไม่อยากจะเชื่อว่ามีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นด้วย งงมากๆ แต่อาจารย์ก็ให้ไปทำใหม่มาส่งอาจารย์
       >>>  งานที่ต้องส่งอาจารย์ในสัปดาห์นี้ก็มีpop up 3ชิ้น

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่8
วันที่19 กรกฎาคม 2553

   วันนี้อาจารย์เริ่มพูดเรื่องการจัดอบรมสื่อในวันเสาร์ที่7กรกฎาคม2553ว่าในวันนั้นใครไ่ได้มาอบรมบ้างและมีเหตุผลอะไรที่ไม่มาอบรมเละอาจารย์ท่านค่อนข้างเครียดกับเรื่องนี้มากๆและอาจารย์ได้บอกสาเหตุว่าทำไมอาจารย์ถึงต้องถามรายละเอียดเพราะสิ่งที่เราได้จัดวิทยากรณ์มาอบรมต้องเสียค่าใชจ่ายค่อนข้างากถ้าเราไม่มาก็ต้องจ่ายค่าเสียหาย
    อาจารยืให้ส่งงานที่ทำในวันเสาร์ และยังมีภาพที่ค้างไว้อีก3อย่าง คือ ป๊อปอัพ ภาพเลื่อน หัวสัตว์ และอาจารย์ย้ำเรื่องงานเดียว(เกมการศึกษา)ว่ามีความคืบน่าแค่ไหน


                                       ผลงานสื่อที่อบรมในวันเสาร์ที่7กรกฎาคม2533

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 7
วันที่29 กรกฎาคม 2553

   วันนี้อาจารย์สอนเรื่องเกมการศึกษาและให้เอกสารมาศึกษาและเอาไปถ่ายเอกสาร เมื่ออาจารย์มอบงานให้อาจารย์ก็ไปธุระ และอาจารย์ก็เข้ามาอยู่บ่อยๆวันนี้อาจารย์ยุ่งมากๆ แต่อาจารย์ก็ยังเข้ามาดูพวกเราอยู่บ่อยๆ และอาจารย์ก็อธิบายเกี่ยวกับเกมการศึกษาเพื่อให้ทำเป็นการบ้านมาส่ง   โดยห้ามซ้ำกันและร่างให้อาจารย์ดูก่อนเพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาด และอาจารย์พูดเรื่องเข้าค่ายในวันที่ 17-18 สิงหาคม 2553 ว่าจะมีปัญหาอะไรบ้าง

จุดมุ่งหมาย
 1.ฝึกการสังเกตภาพที่เหมือนกัน
                2. ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
                3.  ฝึกทักษะการคิดสังเคราะห์
ภาพประกอบ

 วิธีเล่น
1.       ให้เด็ก ดูภาพบัตรภาพคำสั่ง
2.       เด็กเลือกบัตรที่มีภาพเหมือนกันกับภาพบัตรคำสั่ง มาเข้าคู่กัน
3.       ครูตรวจคำตอบโดยวางบัตรภาพคำสั่งมาเข้าคู่กันกับบัตรที่เลือก ถ้าเหมือนกัน แสดงว่าถูกต้อง





วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่6
วันที่22กรกฎาคม 2553


เกมการศึกษา=>ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ความหลากหลาย มีทักษะ ข้อตกลง วิธีการให้ตรงกับอายุของผู้เรียน

ความสำคัญ=>

  • ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม (เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กคนไหนชอบกินแตงกวาถ้าเราถามอย่างเดียวก็ไม่เห็นเป็นรูปร่าง เราก็อาจจะให้เด็กใช้รูปหน้ายิ้มและรูปหน้าบึ่ง โดยที่เด็กคนไหนชอบกินแตงกวาก็หยิบหน้ายิ้ม เด็กคนไหนไม่ชอบกินแตงกวาก็หยิบหน้าบึ่ง)
  • ได้รับประสบการณ์ตรง (โดยการให้ทำกิจกรรมจริงๆเพื่อให้เด็ดเกอดความเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็วและจำได้นาน)
  • รวดเร็ว เพลิดเพลิน เข้าใจง่าย(เมื่อเด็กเล่นแล้วมีความสนุกไม่เบื่อหน่าย เล่นแล้วเด็กเกิดการเรียนรู้การเข้าใจที่ชัดเจน)
ลักษณะสื่อที่ดี=>
                           ต้องมีความปลอดภัย
                           ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก ความสนใจ
                           ประหยัด
                           มีประสิทธิภาพ
หลักการเลือกสื่อ =>คุณภาพดี เด็กเข้าใจง่าย เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของศูนย์ เหมาะสมกับปัจจัย เหมาะสมกับเวลาที่ใช้ เด็กได้ทีส่วนร่วมในกิจกรรม ถูกต้องตามเนื้อหา ทันสมัย เด็กได้คิดเป็นทำเป็น กล้าแสดงออก
การประเมินการใช้สื่อ => (พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อ เด็กและสื่อ)

+ สื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
+เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
+สื่อช่วยให้สอนตรงกับจุด

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่5
วันที่15 กรกฎาคม 2553

ไม่ได้มาเรียน เนื่องจากไม่สบายเข้าโรงพยาบาล

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่3 วันที่1/ก.ค./2553
อาจารย์ตรวจBlogger

      สื่อการศึกษา  วิธี เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นสื่อในการศึกษาอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจเป็นวัสดุ เครื่องมือหรือ กิจกรรมที่ครูเลือกมาหรือวางแผนใช้รวมเข้าไปในเนื้อหาหรือหลักสูตรวิชาต่างๆ อย่างเหมาะสมกับความต้องการ ระดับชั้น สติปัญญา และความสามารถของนักเรียนเพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

       สื่อการเีีรียนการสอน สิ่งที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีเป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เีรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น วีดีทัศน์ เป็นสื่อการสอนเพราะวีดีทัศน์เป็นตัวนำสารไปให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้

       ความหมายของสื่อ  ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์ และเทควิะ๊การต่างๆ ที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนและการสอน

       คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน  
               สื่อกับผู้เรียน
  • ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เร็วขึ้น
  • ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ได้
  • ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้ถูกต้อง
  • ให้ประสบการณ์ รูปธรรมแก่ผู้เรียน และเกิดความประทับใจ จดจำได้นาน
  • ช่วยในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ สามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับสิ่งใหม่ได้ต่อเนื่องกัน"สมองคนเราก็เหมือน การหยดสีลงบนกระดาษ"
  • ส่งเสริมการคิด การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
  • ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
  • ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาให้ตรงกัน
  • ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
  • ลดการบรรยายของผู้สอน
  • ผู้สอนมีความตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
        หลักการเลือกสื่อการสอน
  1. สื่อต้องสัมพันธ์กับมาตราฐานการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาที่ถูกต้อง ทันสมัยน่าสนใจ
  3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย และประสบการณ์ของผู้เรียน
  4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีการใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
  5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
  6.  ราคาไม่แพงเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองก็คุ้มกับเวลาและการลงทุน
      ขั้นตอนในการใช้สื่อ
  1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน การใช้เพลง รูปภาพ ปริศนาคำทาย " ปลายปิด เช่น ใช่หรือ ไม่ใช่ ตัวอย่างเช่น แมวมี4ขา ใช่ หรือ ไม่ " " คำถามปลายเปิด เช่นต้องการทราบว่านำเลขอะไรมาบวกกันแล้วได้ 8 บ้าง "
  2. ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
  3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
  4. ขั้นสรุปผลการเรียน
  5. ขั้นประเมินผู้เรียน "การใช้ถ้อยคำ สังเกต ตรวจผลงาน"
        หลักการใช้สื่อ
  1. เตรียมตัวผู้สอน
  2. เตรียมพร้อมผู้เรียน (สงบเด็กให้อยู่รวมกัน)
  3. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม (สงบเด็กให้อยู่รวมกัน)
  4. การใช้สื่อ
  5. ติดตามผล  
           หลักการใช้สื่อการเรียนและวางแผนใช้สื่อการเรียนการสอน

    วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

    ครั้งที่2 วันที่ 24/มิ.ย./2553

    อาจารย์พูดเรื่องรายชื่อ ประวัติส่วนตัว และเรื่องการแต่งกาย
    เริ่มพูดเรื่องBlogger ว่าใครยังไม่ได้ทำบ้างและทำไม่เป็น ไม่เข้าใจตรงไหนก็ให้ถามอาจารย์หรือถามเพื่อนๆที่ทำเป็น และอาจารย์ก็ยกตัวอย่างการทำสิ่งต่างๆให้ฟังว่า '' ทุกสิ่งทุกอย่างต้องต้องมีการเริ่มต้น ไม่มีใครทำทุกสิ่งทุกอย่างเป็นมาตั้งแต่เกิด ต้องเริ่มจากสิ่งง่ายๆก่อน เพราะคนเราต้องเิ่ริ่มเรียนรู้ที่ละขั้นไม่มีใครสามารถเรียนรู้แบบก้าวกระโดดได้ ''เหมือนการขับรถทุกคนเริ่มจากจักรยานก่อนถึงฝึกขับมอเตอร์ไซ
    หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มเป็น 6 กลุ่มๆล่ะ 5 คน เมื่อจับกลุ่มเรียบร้อยอาจารย์ก็ถามแต่ละกลุ่มว่าในกลุ่มมีปัญหาหรือไม่  ทุกกลุ่มไม่มีปัญหามี 1 กลุ่มที่มีปัญหาซึ่งกลุ่มนั้นคือกลุ่มของดิฉันเองซึ่งปัญหาก็คือมี
    สมาชิกเกิน แล้วอาจารย์ก็บอกว่าเราต้องรู้ว่าเรามีปัญหาอะไรไม่ต้องรอให้ใครมาบอก แล้วอาจารย์ก็ถามต่อว่าจะให้เพื่อนกลุ่มนี้ทำอย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร และมีเพื่อนตอบว่าต้องถามความคิดเห็นว่าเพื่อนกลุ่มอื่นๆจะอนุญาติหรือเปล่า ถ้าเพื่อนๆ อนุญาติถึงจะอยู่ได้

          อาจารย์ให้ให้แบ่งกลุ่มเพื่อตอบคำถามต่อไปนี้
    1. เด็กปฐมวัยในความคิดของเราเป็นอย่างไร
    2. เราศึกษาความเป็นตัวเด็กได้อย่างไร
    3. ท่านคิดว่าเด็กมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรบ้าง
    4. นักทฤษฎีมีใครบ้างที่รู้จัก หรือที่ชื่นชอบ

      => เด็กตั้งแต่แรกเกิด - 6 ปี
      => จากคำพูด,พฤติกรรมต่างๆ พูดคุยกับเด็ก เล่นกับเด็ก
      => สิ่งที่พบเห็นในชิวิตประจำวัน เลียนแบบพฤติกรรมคนที่ตนรัก ถามในสิ่งที่ตนเองสงสัย
      =>  เฟรดริค วิลเฮม เฟรอเบล เป็นนักทฤษฎีที่เน้นการเรียนรู้จากการเล่นโดยเริ่มจากครูผู้สอน โดยกำหนดการวางแผนการสอน โดยนำเด็กไปสู่พัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ชุดอุปกรณ์การเล่นหรือการงานอาชีพเพื่อเตรียมไว้ให้เด็กเลือกเ่ล่นตามต้องการโดยมีครูคอยเป็นที่ปรึกษาอยู่อย่างใกล้ชิด

      สื่อคือ ตัวกลางข้อมูลข่าวสารที่ถ่ายทอดทักษะ ความรู้ความสามารถให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้เด็กมีความเข้าใจมากขึ้น และสนใจในการเรียนมากขึ้น

      ชื่อนักทฤษีที่ตนชอบ
           เฟรอริค  วิลเฮม  เฟรอเบล   เป็นบิดาแห่งการศึกษาอนุบาลชาวเยอรมัน  โดยการเรียนการสอนของเฟรอเบลต้องเริ่มจากครูผู้สอน โดยกำหนดให้มีการวางแผนและฝึกหัดครูก่อนเพื่อจะได้พัฒนาเด็กต่อไป โดยใช้สื่อการสอนเป็นชุดอุปกรณ์และแนวคิดของเฟรอเบลก็ยังใช้จนถึงปัจจุบันนี้
          เฟรอเบล กล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถอยู่ในตัวทุกคนแต่จะปรากฎออกสู่ภายนอกก็ต่อเมื่อได้สัมผัสกับอุปกรณ์และประสบการณ์นั้น การที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติเป็นการนำไปสู่พัฒนาทางด้านร่างกาย สติปัญญาและคุณธรรม และเฟรอเบลกล่า่่่วว่าเด็กมีความสามารถมาตั้งแต่เิกิด แต่ผู้สอนจะเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า หาประสบการณ์ด้วยตนเองมากน้อยเพียงใด และต้องคอยสังเกตการตอบสนองของเด็กว่าเด็กมีความสนใจมากน้อยเพียงใด
           เเละ เฟรอเบล ยัง กล่าวว่าการเล่นก็ต้องสอดคล้องกับอายุและวัยของเด็ก นอกจากเล่นชุดอุปกรณ์แล้ว ครูกับเด็กต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์

        วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

        Learning Materials for Early Childhood แฟ้มสะสมงานสื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

        ครั้งที่1 วันที่17/06/2533
        ทำประวัติส่วนตัว
        • ชื่อ-นามสกุล
        • ชื่อเล่น
        • ที่อยู่ปัจจุบัน
        • เบอร์โทร
        • E-mail
        • ไม่ได้ทุน ไม่ได้กู้
        ระเบียบการแต่งกาย

        • รวบผมเรียบร้อย
        • สวมเสื้อไม่มีตะเข็บ ไม่รัดรูป
        • กระโปรงคลุมเข่า
        • รองเท้าสีดำ
        การเข้าชั้นเรียน 
        • เข้าเรียนปกติ08.30น.
        • เข้าสาย09.00น.
        • หลัง09.00น.ถือว่าขาด
        หมายเหตุ เข้าเรียนหลัง09.00น.เข้าเรียนได้แต่ไม่เช็คเวลาเรียนได้

        ทำ Blogger สะสมงาน
        • วิชาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษาปฐมวัย
        การบ้าน

        สื่อ คือ อะไรในความคิดของตนเอง
        สื่อ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากขึ้น และเด็กได้เรียนรู้จากของจริงและได้ฝึกให้เด็กได้ใช้เทคโนโลยี